วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้ภาษาพัฒนาชีวิต

การใช้ภาษาพัฒนาความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่า
ผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่น
ความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับ
จะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำ
กิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น
การอธิบาย การบรรยายและการพรรณนา
การอธิบาย คือ การทำ ให้ผู้อื่นเข้าใจความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มี 5 วิธี
1. อธิบายตามลำ ดับขั้น ใช้อธิบายสิ่งที่เป็นกระบวนการ หรือกรรมวิธี เช่น วิธีทำ อาหาร
2. ใช้ตัวอย่าง ใช้อธิบายในสิ่งที่เข้าใจยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์
3. เปรียบเทียบความเหมือนและต่างกัน ใช้อธิบายในสิ่งที่แปลกใหม่หรือสิ่งที่ยังไม่คุ้นเคย
4. ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน ใช้อธิบายเพื่อบอกเหตุผลหรือสาเหตุ
5. นิยามหรือให้คำ จำ กัดความ ใช้อธิบายความหมายของคำ ศัพท์หรือข้อความ
การบรรยาย คือ การเลา่ เรื่องราวใหผู้ฟ้ งั หรือผูอ้ า่ นไดรู้ว้ า่ ใคร ทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไร อยา่ งไร เพื่ออะไร อาจเปน็ เรื่องจริง
เช่น ประวัติของบุคคล หรือเรื่องสมมติก็ได้ เช่น นิทาน นิยาย เป็นต้น
การพรรณนา คือ การให้รายละเอียดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีชีวิตหรือไม่ก็ได้ โดยมุ่งให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนึกเห็นภาพเกิด
จินตนาการตามที่ผู้ส่งสารต้องการ มักใช้คำ อุปมาเปรียบเทียบมีคำ ว่า ดุจ ดัง เหมือน ราวกับ ฯลฯ
ทั้ง 3 อย่างนี้อาจใช้รวมกันได้ เช่น ในบทความหรือนิทานเรื่องหนึ่งอาจมีทั้งการอธิบาย บรรยายและพรรณนาคละ
กันได้
ความงามในภาษา
ความงามในภาษา คือ การใช้ถ้อยคำ ไพเราะสละสลวยและมีความหมายดี มีเนื้อหาที่ประทับใจ ประกอบด้วยดังนี้
1. การสรรคำ คือ การเลือกใช้ถ้อยคำ ดังนี้
1. ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
2. ให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
3. ให้เหมาะกับลักษณะของคำ ประพันธ์
4. ให้คำ นึงถึงเสียงดังนี้
- เสียงธรรมชาติ (สัทพจน์)
- เล่นเสียงวรรณยุกต์
- เสียงสัมผัส
- เสียงหนักเบา
- คำ พ้องเสียงและคำ ซํ้า
2. การเรียบเรียงคำ มีกลวิธีดังนี้
1. เรียงสารสำ คัญไว้ท้ายสุด
2. เรียงข้อความที่สำ คัญเท่ากันเคียงขนานกันไป
3. เรียงเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นไปตามลำ ดับ
4. เรียงเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปและคลายลงในช่วงสุดท้าย
5. เรียงถ้อยคำ ให้เป็นประโยคคำ ถามเชิงว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น