วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

กำเนิดสุริยะจักรวาล

กำเนิดสุริยะจักรวาล

จักรวาลของเราที่มีดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางนั้นได้ ถือกำเนิดมาจากกลุ่มแก๊สร้อนกลุ่มหนึ่ง ของทางช้างเผือก เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว จักรวาลนี้เป็นจักรวาลที่มีความไม่ธรรมดา อยู่หลายประการ เช่น มีสิ่งมีชีวิต มีวงโคจรของดาวเคราะห์บริวารของจักรวาลนี้ ที่แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกันหมด นอกจากนี้ดาวเคราะห์ส่วนมาก จะหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นดาวศุกร์และพลูโต ซึ่งหมุนสวนทิศกับดาวดวงอื่นๆ ที่แปลกสุดแปลกคือดาวมฤตยูนั้น จะตะแคงตัวหมุน ครั้นเมื่อนักดาราศาสตร์ เปรียบเทียบความเร็วในการโคจร ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์แล้ว เขาก็พบว่าดวงอาทิตย์ของเรา หมุนช้าอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แค่นี้ยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้แปลก ที่ยังตอบไม่ได้ว่าเหตุใดดวงจันทร์ ของโลกและดวงจันทร์ของดาวพลูโตจึงมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับดาวแม่ ในขณะที่ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ นั้นเล็กนิดเดียว และดวงจันทร์เหล่านั้นมาจากไหน เหตุใดดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงประกอบด้วยธาตุหนัก แต่เหล่าดาวที่อยู่ไกลจึงมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุเบา เหตุใด เหตุใด และเหตุใด
ทฤษฎีใดๆ ของสุริยจักรวาลที่ถูกต้อง และสมบูรณ์จะต้องอธิบายและตอบคำถามต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้หมด
ในอดีตเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์เคยวาดฝันเกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาลว่าได้มีดาวฤกษ์ดวงใหญ่อีกหนึ่งดวงโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ของเรา และแรงดึงดูดอันมหาศาลของดวงดาวนั้นได้ดึงดูดแก๊สร้อนจากดวงอาทิตย์ให้หลุดปลิวลอยไปในอวกาศ เมื่อแก๊สนั้นเย็นลง มันจึงจับตัวแข็งเป็นดาวเคราะห์ แต่หลักฐานต่างๆ ในปัจจุบันส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ นั้นเกิดมาพร้อมๆ กัน ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงต้องตกไป
ส่วนนักปราชญ์ชื่อ Kant และนักฟิสิกส์ชื่อ Laplace นั้นเคยเชื่อว่า สุริยจักรวาลเกิดจากกลุ่มแก๊สที่หมุนรอบตัวเองจนมีลักษณะเป็นจานกลมเมื่อส่วนต่างๆ ของขอบจานเย็นลงมันจะหดตัวและจับตัวรวมกันเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ แต่ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควรจะหมุนเร็วขึ้น แต่กลับปรากฏว่าดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุง
การสังเกตข้อมูลที่ดาวเทียม Infrared Astronomical Satellite ส่งมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เห็นดาวฤกษ์หลายดวง เช่น Beta Pictoris ว่ามีแก๊สเย็นห้อมล้อมอยู่ การเห็นนี้จึงทำให้นักดาราศาสตร์ปัจจุบันคิดว่า นี่คือภาพของสุริยจักรวาลตอนถือกำเนิดใหม่ๆ
ก็ในเมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope ที่สหรัฐฯ ส่งขึ้นไปค้นหาดาวเคราะห์ ยังใช้การไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ จึงต้องหันมาพึ่งพาอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ จึงขณะนี้ได้มีนักวิจัยบางคน ใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองการกำเนิด ของสุริยจักรวาลขึ้นในจอ โดยรวมกำหนดว่าในตอนเริ่มต้น มีดาวเคราะห์ที่มีขนาดพอๆ กับโลกเราประมาณ 500 ดวง แล้วดาวเหล่านี้ชนกันหรือกัน โดย G. Wetherill แห่งสถาบัน Carnegie ที่ Washington ได้พบว่ากระบวนการชนบิลเลียดในอวกาศ ลักษณะนี้สามารถนำไปสู่การเกิดดาวเคราะห์ 9 ดวงดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ได้ และโลกของเราจะต้องถูกชน ด้วยอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่เท่าดาวพุธ จึงจะทำให้ ชิ้นส่วนหนึ่งของโลกหลุดออกไป เป็นดวงจันทร์
จะยังไงก็ตามแต่ ตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ยังไม่มีทฤษฎีกำเนิดสุริยจักรวาล ที่สมบูรณ์ดีเลย จึงเป็นว่าสนามความคิดสำหรับเรื่องนี้ ยังมีอาณาบริเวณกว้างพอที่ จะรองรับจิตนาการจากคนทุกคน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

พาราโบลา

พาราโบลา (parab
ola)
จุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องพาราโบลา
จุดประสงค์การเรียนรู้สำหรับเรื่องนี้ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถ
1. บอกนิยามของพาราโบลา2. หาโฟกัส จุดยอดและสมการไดเรกตริกซ์ พร้อมทั้งบอกลักษณะของกราฟเมื่อกำหนดสมการของพาราโบลาให้3. หาสมการของพาราโบลา เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ให้4. เขียนกราฟของพาโบลา จากสิ่งที่กำหนดให้นำความรู้เรื่องพาราโบลาไปใช้แก้ปัญหาที่กำหนดให้ได้


พาราโบลา
ในตอนแรก ให้นักเรียนสังเกตุการสร้างพาราโบลาจากภาพเคลื่อนไหวข้างล่างนี้
จากรูปจะได้ความสัมพันธ์จุดแต่ละจุดอยู่ห่างจากเส้นตรง l และจุดที่กำหนดให้เป็นระยะทางเท่ากันคือAM = MFBL = LFVK = KFDJ = JFEI = IFเมื่อเขียนจุดทั้งหมดในระนาบ จะได้กราฟที่เรียกว่า พาราโบลา


บทนิยาม : พาราโบลาคือเซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรงที่เส้นหนึ่งบนระนาบและจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบนอกเส้นตรงคงที่นั้น เป็นระยะทางเท่ากับเสมอ

ส่วนประกอบของพาราโบลา- เส้นคงที่ เรียกว่า ไดเรกตริกซ์ของพาราโบลา- จุดคงที่ (F) เรียกว่า โฟกัสของพาราโบลา - แกนของพาราโบลา คือเส้นตรงที่ลากผ่านโฟกัสและตั้งฉากกับไดเรกตริกซ์- จุดยอด (V) คือจุดยอดที่พาราโบ-ลาตัดกับแกนของพาราโบลา- เลตัสเรกตัม (AB) คือส่วนของเส้น ตรงที่ผ่านโฟกัส และ มีจุดปลายทั้ง สองอยู่บนพาราโบลา และตั้งฉากกับ แกนของพาราโบลา- เส้นตรงที่ผ่านจุดโฟกัส และตั้งฉากกับไดเรกตริกซ์ เรียกว่า แกนของพาราโบลา

พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่ (0,0)สมการของพาราโบลาที่มีจุดยอด อยู่ที่ (0,0) แกนของพาราโบลา คือแกน x หรือ แกน y ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ก. แกนของพาราโบลาคือแกน x และ โฟกัสอยู่ที่ (c,o) เมื่อ c > oไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x = -c กราฟของพาราโบลาเปิดขวา
ให้ P(x,y) เป็นจุดใดๆ บนพาราโบลาPR = PQ= x2 - 2cx + c2 + y2 = x2 - 2cx + c2y2 = 4cx เมื่อ c > 0
ข. แกนของพาราโบลาคือแกน x และโฟกัสอยู่ที่ (c,0) เมื่อ c < 0ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x = -c กราฟของพาราโบลาเปิดซ้าย
ใช้วิธีการเดียวกับ ข้อ ก. จะได้สมการของพาราโบลา y2 = 4cx เมื่อ c < 0จากรูปที่ 2 เรียก AB ว่า เลตัสเรกตัมของพาราโบลา เราสามารถคำนวณหา AB ได้ ซึ่งก็คือ ความกว้างของ พาราโบลา ที่โฟกัส
สมมุติให้ พิกัดของ A คือ (x,c) ดังนั้นx2 = 4 c cx2 = 4 c2 ดังนั้น x = 2c (เพราะว่า x> 0)แสดงว่า AF = 2cเพราะฉะนั้น AB = 2 AF = 4cนั้นคือ ความยาวของลาตัสเรกตัม = 4c = 4 c หน่วยโดยทั่วไป สำหรับพาราโบลา ในลักษณะอื่นๆ เราสามารถแสดงได้ว่าความยาวของลาตัสเรกตัม (L.S.) = 4 c หน่วย
ตัวอย่าง 1-3
ค. แกนของพาราโบลาคือแกน y และโฟกัสอยู่ที่ (0,2) เมื่อ c > 0ไดเรกตริกซ์ คือเส้นตรง y = -c กราฟของพาราโบลาจะหงาย
มีสมการ x2 = 4cy เมื่อ c > 0
สมมุติให้ P(x,y) เป็นจุดๆบนพาราโบลา จากนิยาม PF = PQ= x2 + y2 - 2cy + c2 = y2 + 2cy + c2x2 = 4cy เมื่อ c > 0
ง. แกนของพาราโบลาคือแกน y และโฟกัสอยู่ที่ (0,c) เมื่อ c < 0ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง y = -c กราฟของพาราโบลาจะคว่ำ
ด้วยวิธีเดียวกับข้อ ค. จะได้สมการพาราโบลาx2 = 4cy เมื่อ c < 0

ตัวอย่าง 4-6

สรุป : รูปแบบและลักษณะของพาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ (0,0)
การหาสมการของพาราโบลาที่จุดยอดที่จุด (h,k) และมีแกนขนานกับ แกน x หรือแกน y1. เมื่อแกนของพาราโบลาขนานกับแกน x
รูปที่ 1 แสดงพาราโบลาเมื่อ c > 0ให้ จุดยอด อยู่ที่ (h,k)โฟกัส อยู่ที่ (h + c,k)ไดเรกตริกซ์เป็นเส้นตรง ที่ x = h - cย้ายแกน ให้จุด (0,0) เลื่อนไปที่จุด 0' (h,k)ระยะห่างระหว่างจุดยอดกับโฟกัสเท่ากับ cหน่วยดังนั้น สมการของพาราโบลาเมื่อเทียบกับแกนใหม่คือ(y')2 = 4cx'แต่ถ้าพิกัดของ P เมื่อเทียบกับแกนเดิมคือ (x,y) จะได้ว่าy' = y - k และ x' = x - hดังนั้น สมการของพาราโบลา เทียบกับแกนเดิมคือ
(y - k)2 = 4c(x - h)
เมื่อ c > 0
รูปที่ 2 แสดงพาราโบลา เมื่อ c < 0ด้วยวิธีการเลื่อนแกนทางขนาน เช่นเดียวกับ ข้อ 1 สมการของพาราโบลาคือ
(y - k)2 = 4c(x - h)
เมื่อ c < 0
จากสมการ (y - k)2 = 4c(x - h)กระจายได้ y2 - 2ky + k2 = 4cx - 4chy2 - 2ky + - 4cx + k2 + 4ch = 0เมื่อ A = -2k , B = -4c , C = k2 + 4chจะได้ y2 + Ay + Bx + C = 0
จะได้ สมการของพาราโบลาที่มีแกนของพาราโบลา ขนานกับ แกน x จะได้ สมการของพาราโบลา ในรูปทั่วไป
y2 + Ay + Bx + C = 0
เมื่อ B ไม่เท่ากับ 0

ตัวอย่าง 7-8

2.เมื่อแกนของพาราโบลาขนานกับแกน y
รูป 3 แสดงพาราโบลา เมื่อ c > 0ให้ จุดยอด อยู่ที่ (h , k)โฟกัสอยู่ที่ (h , k + c) ไดเรกตริกซ์เป็นเส้นตรง y = k - cย้ายแกนให้จุด (0,0) เลื่อนไปที่จุด 0' (h,k) ระยะห่างระหว่างจุดยอดกับ โฟกัสเท่ากับ ฝcฝหน่วยดังนั้น สมการของพาราโบลาเมื่อเทียบกับแกนใหม่คือ(x')2 = 4cy'แต่ถ้าพิกัด ของ P เมื่อเทียบกับแกนเดิม คือ (x,y) จะได้ว่าx' = x - h และ y' = y - kดังนั้นสมการของพาราโบลา เทียบกับแกนเดิมคือ
(x - h)2 = 4c(y - k)
เมื่อ c > 0
รูป 4 แสดงพาราโบลา เมื่อ c < 0ด้วยวิธีการเลื่อนแกนทางขนาน เช่นเดียวกับข้อ 2 สมการของพาราโบลา คือ
(x - h)2 = 4c(y - k) เมื่อ c < 0
เมื่อ c < 0
จากสมการ (x - h)2 = 4c(y - k)กระจายได้ x2 - 2hx + h2 = 4cy - 4ckx2 - 2hx - 4cy + h2 + 4ck = 0เมื่อ A = -2k , B = -4c , c = h2+ 4ckจะได้ y2 + Ay + Bx + C = 0 เมื่อดังนั้น สมการของพาราโบลาที่มีแกนของพาราโบลา ขนานกับแกน y จะได้สมการของพาราโบลา ในรูปทั่วไป
y2 + Ay + Bx + C = 0
เมื่อ B ไม่เท่ากับ 0

ตัวอย่าง 9-10

สรุป : รูปแบบและลักษณะของพาราโบลา ที่มีจุดยอดอยู่ที่ (h,k)
ข้อสังเกต
1. การดูลักษณะของพาราโบลา ว่าจะหงาย คว่ำ เปิดด้านขวา หรือด้านซ้าย ให้ดูแกนของพาราโบลา และเครื่องหมายของ c 2. การดูแกนของพาราโบลา ให้ดูตัวแปรในสมการว่าตัวแปรใดมีกำลังสูงสุดเท่ากับหนึ่ง แกนของพาราโบลา จะขนานกับแกนพิกัดของ ตัวแปรนั้น เช่น (x-h)2 = 4c(y-k) จะมีแกนของพาราโบลาขนานกับแกน y เป็นต้น3. c = c = ระยะห่างระหว่าง จุดยอดและโฟกัส = ระยะห่างระหว่างจุดยอดและไดเรกตริกซ์4. การหาพิกัดของโฟกัสและสมการไดเรกตริกซ์ เพียงแต่ใช้จุดยอด และ c เป็นหลักในการหาก็เพียงพอ

การใช้ภาษาพัฒนาชีวิต

การใช้ภาษาพัฒนาความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่า
ผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่น
ความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับ
จะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำ
กิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น
การอธิบาย การบรรยายและการพรรณนา
การอธิบาย คือ การทำ ให้ผู้อื่นเข้าใจความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มี 5 วิธี
1. อธิบายตามลำ ดับขั้น ใช้อธิบายสิ่งที่เป็นกระบวนการ หรือกรรมวิธี เช่น วิธีทำ อาหาร
2. ใช้ตัวอย่าง ใช้อธิบายในสิ่งที่เข้าใจยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์
3. เปรียบเทียบความเหมือนและต่างกัน ใช้อธิบายในสิ่งที่แปลกใหม่หรือสิ่งที่ยังไม่คุ้นเคย
4. ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน ใช้อธิบายเพื่อบอกเหตุผลหรือสาเหตุ
5. นิยามหรือให้คำ จำ กัดความ ใช้อธิบายความหมายของคำ ศัพท์หรือข้อความ
การบรรยาย คือ การเลา่ เรื่องราวใหผู้ฟ้ งั หรือผูอ้ า่ นไดรู้ว้ า่ ใคร ทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไร อยา่ งไร เพื่ออะไร อาจเปน็ เรื่องจริง
เช่น ประวัติของบุคคล หรือเรื่องสมมติก็ได้ เช่น นิทาน นิยาย เป็นต้น
การพรรณนา คือ การให้รายละเอียดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีชีวิตหรือไม่ก็ได้ โดยมุ่งให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนึกเห็นภาพเกิด
จินตนาการตามที่ผู้ส่งสารต้องการ มักใช้คำ อุปมาเปรียบเทียบมีคำ ว่า ดุจ ดัง เหมือน ราวกับ ฯลฯ
ทั้ง 3 อย่างนี้อาจใช้รวมกันได้ เช่น ในบทความหรือนิทานเรื่องหนึ่งอาจมีทั้งการอธิบาย บรรยายและพรรณนาคละ
กันได้
ความงามในภาษา
ความงามในภาษา คือ การใช้ถ้อยคำ ไพเราะสละสลวยและมีความหมายดี มีเนื้อหาที่ประทับใจ ประกอบด้วยดังนี้
1. การสรรคำ คือ การเลือกใช้ถ้อยคำ ดังนี้
1. ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
2. ให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
3. ให้เหมาะกับลักษณะของคำ ประพันธ์
4. ให้คำ นึงถึงเสียงดังนี้
- เสียงธรรมชาติ (สัทพจน์)
- เล่นเสียงวรรณยุกต์
- เสียงสัมผัส
- เสียงหนักเบา
- คำ พ้องเสียงและคำ ซํ้า
2. การเรียบเรียงคำ มีกลวิธีดังนี้
1. เรียงสารสำ คัญไว้ท้ายสุด
2. เรียงข้อความที่สำ คัญเท่ากันเคียงขนานกันไป
3. เรียงเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นไปตามลำ ดับ
4. เรียงเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปและคลายลงในช่วงสุดท้าย
5. เรียงถ้อยคำ ให้เป็นประโยคคำ ถามเชิงว

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือ
1.1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
1.2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)
2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการ เมแทบอลิซึม(metabolism) เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต แบ่งย่อยได้ 2 กระบวนการ คือ
2.1. แคแทบอลิซึม (catabolism)
2.2. แอแนบอลิซึม (anabolism) 3. การเจริญเติบโต อายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากันบางชนิดใหญ่มาก เช่น ช้าง สูงถึง 7 เมตร ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ สิ่งมีชีวิตเมื่อเติบโตได้ในระยะหนึ่งก็จะตาย เราจะเรียกว่า อายุขัย โดยแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ดูตาราง
การเจริญเติบโตประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)
2. การเจริญเติบโต (growth)
3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ (cell differentiation)
4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
4. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
เป็นการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่ตอยสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีที่เกิดขึ้น สิ่งเร้า (stimulus) อย่างเดียวกันอาจจะตอบสนอง (respon) ไม่เหมือนกันก็ได้ ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น แสงเป็นสิ่งเร้าที่พืชเอนเข้าหา ส่วนโพโทซัวหลายชนิดจะเคลี่อนหนี ตัวอย่างการตอบสนอง เช่น พืชตระกูลถั่วจะหุบใบในตอนเย็นหรือกลางคืน ซึ่งเรียกว่าต้นไม้นอน เป็นต้น

5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ระดับน้ำในเซลล์และร่างกาย ความเป็นกรด-เบส อุณหภูมิ แร่ธาตุ ระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการรักษาระดับของปัจจัยเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเซลล์และร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์แสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดปิดของปากใบ การคายน้ำและการลำเลียงสารของพืช ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารขี้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบของพืช
6. ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ เช่น คนมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าคน แมว สนุข หรือแม้แต่ต้นพืชหรือ สาหร่ายขนาดเล็กก็มีลักษณะเฉพาะเช่นกัน
7. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบโครงสร้างและการดำรงชีวิต เช่น
1. โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
(1) โครงสร้างทางเคมี (chemical structure)
(2) โครงสร้างระดับเซลล์ (cellular structure)
2. การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
(1) การได้มาซึ่งอาหาร (nutrition)
(2) การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)
(3) การสังเคราะห์ (synthesis)
(4) การสืบพันธุ์ (reproduction)
(5) การปรับตัวและวิวัฒนาการ (adaptation and evolution)

ธรรมชาติภาษา

ธรรมชาติของภาษา
ภาษาคือเครื่องมือสื่อความเข้าใจ ภาษาตามความหมายอย่างกว้างคือการสื่อความหมายโดยมีระบบกฎเกณฑ์
ที่เข้าใจกัน 2 ฝ่ายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์ก็ได้จะใช้เสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์อื่นใดก็ได้ ฉะนั้นจึงมีภาษาคน
ภาษาสัตว์ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใบ้ เป็นต้น ส่วนภาษาตามความหมายอย่างแคบนั้นคือถ้อยคำ ที่มนุษย์ใช้พูดสื่อ
ความหมายกันบางภาษามีตัวอักษรถ่ายทอดเสียงจึงเรียกว่าภาษาเขียน
ภาษาของมนุษย์ทั่วไปมีลักษณะร่วมกันที่สำ คัญมี 4 ประการ ดังนี้
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย บางภาษามีตัวอักษรเป็นเครื่องถ่ายเสียง ภาษาคือเครื่องมือที่สื่อความเข้าใจ มีดังนี้
- เสียงสัมพันธ์กับความหมาย คำ ไทยบางคำ อาศัยเลียนเสียงธรรมชาติและเสียงสัตว์ เช่น โครม เพล้ง ปัง
กริ๊ง หวูด ออด ตุ๊กๆ กา แมว จิ้งจก อึ่งอ่าง ตุ๊กแก
- เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย คือ การตกลงกันของกลุ่มแต่ละกลุ่มว่าจะใช้คำ ใดตรงกับความหมายนั้นๆ
ฉะนั้นแต่ละชาติจึงใช้คำ ไม่เหมือนกัน
ส่วนมากเสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน ถ้าเสียงกับความหมายสัมพันธ์กันทั้งหมดแล้วคนต่างชาติต่างภาษา
ก็จะใช้คำ ตรงกัน
2. ภาษาประกอบกันจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่ เช่น เสียง (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์) คำ ประโยค ข้อความ
เรื่องราว ภาษาแต่ละภาษามีคำ จำ นวนจำ กัดแต่สามารถประกอบกันขึ้นโดยไม่จำ กัดจำ นวน เช่น มีคำ ว่า ใคร ใช้ ให้ ไป หา
สามารถสร้างเป็นประโยคได้หลายประโยคและต่อประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
- การพูดจาในชีวิตประจำ วัน เสียงอาจกลายหรือกร่อนไป เช่น อย่างไร เป็นยังไง อันหนึ่ง เป็นอนึ่ง เป็นต้น
- อิทธิพลของภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ มักมีคำ ที่ไม่กะทัดรัด เช่น คำ ว่า ได้รับ ต่อการ นำ มาซึ่ง พร้อมกับ
สำ หรับ มัน ในความคิด สั่งเข้า ส่งออก ใช้ชีวิต ไม่มีลักษณนาม เช่น เขาได้รับความพอใจ, เลขข้อนี้ง่ายต่อการคิด,
ความเพียรจะนำ มาซึ่งความสำ เร็จ, นักกีฬากลับมาพร้อมกับชัยชนะ, สำ หรับข้าพเจ้าไม่ขอแสดงความเห็น, มันเป็นการ
ง่ายที่จะกล่าวเช่นนั้น, ประเทศไทยสั่งเข้านํ้ามันปีละหลายหมื่นล้านบาท, เขาใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่,
สามผู้ร้ายบุกปล้นธนาคาร
- ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น คนไทยไปเติบโตที่ต่างประเทศกลับมาเมืองไทยพูดภาษาไทย
ไม่ค่อยชัด เป็นต้น
- การเรียนภาษาของเด็ก
4. ภาษาต่างๆ มีลักษณะที่ต่างและเหมือนกัน
ที่ต่างกันคือ การใช้คำ เสียง ลักษณนาม ไวยากรณ์ การเรียงคำ
ที่เหมือนกันคือ
- ใช้เสียงสื่อความหมายกัน
- มีวิธีสร้างศัพท์ใหม่ เช่น เอาคำ เดิมมารวมกันเป็นคำ ประสม เป็นต้น
- มีสำ นวน
- มีชนิดของคำ เช่น คำ นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ เป็นต้น
- มีการขยายประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
- มีประโยคบอกเจตนาคล้ายกัน เช่น แจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ หรือสั่งให้ทำ
- มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ภาษาไทย 127
ลักษณะที่ควรสังเกตบางประการในภาษาไทย
อักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย
1. พยัญชนะ
2. สระ
3. วรรณยุกต์
1. พยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง
หน้าที่ของพยัญชนะ คือ
1. เป็นพยัญชนะต้น มี 21 เสียง ดังนี้
1. ก 12. บ
2. ค ข ฃ ฅ ฆ 13. ป
3. ง 14. พ ผ ภ
4. จ 15. ฟ ฝ
5. ช ฉ ฌ 16. ม
6. ซ ศ ษ ส 17. ร (ฤ)
7. ย ญ 18. ล ฬ
8. ด ฎ (ฑ) 19. ว
9. ต ฏ 20. อ
10. ท ฐ ฑ ฒ ถ ธ 21. ฮ ห
11. น ณ
- พยัญชนะต้นประสม คือ พยัญชนะควบกลํ้า เช่น เกรง กลัว กวาง
- พยัญชนะต้นเดี่ยว คือ พยัญชนะไม่ควบกลํ้า หรือควบไม่แท้ เช่น กอง แผน หมาย จริง สร้าง ทราบ
2. เป็นพยัญชนะท้าย (สะกด) มี 8 เสียง รวม 35 ตัว (สะกดไม่ได้ 9 ตัว ฃ ฅ ฉ ฌ ผ ฝ อ ห ฮ)
1. เสียงแม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. เสียงแม่กง ได้แก่ ง
3. เสียงแม่กด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ถ ต ท ธ ศ ษ ส
4. เสียงแม่กบ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ
5. เสียงแม่กน ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. เสียงแม่กม ได้แก่ ม
7. เสียงแม่เกย ได้แก่ ย
8. เสียงแม่เกอว ได้แก่ ว
- พยัญชนะบางตัวไมอ่ อกเสียง เชน่ องค์ สังข ์ สามารถ ปรารถนา พรหม พุทธ สมุทร จริง สร้าง ทราย อยู ่ หวาน
- บางคำ มีเสียงพยัญชนะแต่ไม่มีรูป ได้แก่ คำ ที่ประสมด้วยสระอำ (อะม) ใอ ไอ (อะย) เอา (อะว) เช่น จำ ใจไกลเขา
สระในบางคำ รูปไม่เหมือนกัน
- คำ ที่มาจากสระอะ เช่น รัก (ระก) จำ (จะม) สรรค์ (สะน) ไป (ปะย) ใน (นะย) เรา (ระว)
- คำ ที่มาจากสระเออ เช่น เทอม เดิน เลย
- คำ ที่มาจากสระอัว เช่น บัว ชวน
- คำ ที่มาจากสระออ เช่น รอ กร บวร
สระในบางคำ ออกเสียงไม่ตรงรูป
- สระเสียงสั้นแต่ออกเสียงยาว เช่น เก้า เท้า เช้า นํ้า ได้
- สระเสียงยาวแต่ออกเสียงสั้น เช่น ท่าน เงิน สอย น่อง แหม่ม แว่ว เก่ง เล่น
- สระในบางคำ ไม่ออกเสียง เช่น กษัตริย์ เหตุการณ์ ภูมิลำ เนา จักรพรรดิ
ภาษาไทย 129
3. วรรณยุกต์ มี 4 รูป 5 เสียง
การผันวรรณยุกต์ มีหลักสังเกตดังนี้
- อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
- อักษรกลางและสูง รูปกับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน (ใส่วรรณยุกต์เอกก็เป็นเสียงเอก เป็นต้น) เช่น ไก่แจ้ กระต๊าก
- อักษรตํ่ารูปกับเสียงไม่ตรงกัน (ใส่วรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เป็นต้น) เช่น พ่อ แม่ น้อง รู้
- รูปวรรณยุกต์ตรีใช้ได้กับอักษรกลางเท่านั้น
โครงสร้างหรือองค์ประกอบของพยางค์ ได้แก่
1. เสียงพยัญชนะต้น ให้ดูว่าคำ นั้นเป็นพยัญชนะต้นประสม (ควบแท้) หรือพยัญชนะต้นเดี่ยว (ไม่ควบแท้)
2. เสียงสระ ให้ดูว่าคำ นั้นมีสระออกเสียงสั้นหรือออกเสียงยาว (สระบางคำ รูปกับเสียงสั้นยาวไม่ตรงกัน)
3. เสียงวรรณยุกต์ ให้ดูว่าเป็นเสียงอะไร (สามัญ เอก โท ตรี หรือจัตวา)
4. เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ให้ดูว่าคำ นั้นมีตัวสะกดหรือไม่มี
ระดับภาษา
ระดับภาษา คือ การแบ่งการใช้ภาษาออกเป็นระดับต่างๆ ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาสและสถานที่ มี 5 ระดับ
คือ
1. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารในที่ประชุมที่เป็นพิธีการ
2. ระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการ หรือใช้ในการเขียนข้อความให้ปรากฏต่อสาธารณชน
3. ระดับกึ่งทางการ ใช้ภาษาที่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้างเพื่อความใกล้ชิดกัน เช่น การประชุมกลุ่มหรือ
อภิปรายเป็นกลุ่มเล็ก หรือบทความในหนังสือพิมพ์
4. ระดับไม่เป็นทางการ ใช้สนทนาของบุคคลหรือกลุ่มคน 4-5 คน หรือการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน
5. ระดับกันเอง ใช้สื่อสารกันในวงจำ กัด เช่น ในครอบครัว เพื่อนสนิทในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ แปลว่า คำ พูดสำ หรับพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันหมายถึงการใช้คำ พูดกับบุคคลดังต่อไปนี้
1. พระเจ้าแผ่นดิน
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระภิกษุ
4. ข้าราชการ
5. สุภาพชน
130 ภาษาไทย
คำ ราชาศัพท์ที่ตกแต่งขึ้นจากภาษาต่างๆ ดังนี้
- คำ ไทยดั้งเดิม เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ พระยอด ทรงถาม ทรงช้าง
- คำ บาลี เช่น พระอัฐิ พระหัตถ์ พระอุทร
- คำ สันสกฤต เช่น พระเนตร พระจักษุ ทรงพระอักษร
- คำ เขมร เช่น พระขนง ตรัส เสวย โปรด บรรทม
การใช้คำ ว่า "ทรง"
1. นำ หน้าคำ นาม และคำ กริยาสามัญ เช่น ทรงม้า ทรงช้าง ทรงธรรม ทรงกีฬา ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงขอบใจ
2. นำ หน้าคำ นามราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร ทรงพระดำ ริ ทรงพระสุบิน
3. ห้ามนำ หน้าคำ ที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น ตรัส เสด็จ ประทับ พระราชทาน ทอดพระเนตร โปรด ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "เสด็จ"
- ใช้นำ หน้าคำ กริยาบางคำ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง
- นำ หน้าคำ นามให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำ เนิน เสด็จพระราชสมภพ
การใช้คำ ว่า "พระบรม"
ใช้กับสิ่งสำ คัญของพระมหากษัตริย์เท่านั้น เช่น พระบรมเดชานุภาพ พระบรมราชสมภพ พระบรมราชโองการ
พระปรมาภิไธย พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชชนนี ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "อาคันตุกะ" (แขกผู้มาเยือน)
แขกของกษัตริย์ให้ใช้ พระราชอาคันตุกะ ถ้าไม่ใช่แขกของกษัตริย์ให้ใช้ อาคันตุกะ เช่น
- ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
การใช้คำ ว่า "ทูลเกล้า ฯลฯ" ใช้กับของเบาและเล็ก เช่น เงิน ดอกไม้ เสื้อผ้า ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "น้อมเกล้า ฯลฯ" ใช้กับของใหญ่หรือหนัก เช่น รถยนต์ อาคาร ที่ดิน ฯลฯ
การที่ประชาชนไปรอต้อนรับพระเจ้าแผ่นดิน ควรใช้ว่า ประชาชนไปรอเฝ้าฯ รับเสด็จ ห้ามใช้ว่า ถวายการต้อนรับ
ประชาชนถวายความจงรักภักดี ก็ผิด ควรใช้ว่า ประชาชนแสดงความจงรักภักดี หรือมีความจงรักภักดี
ภาษาไทย 131
ความสำ คัญของภาษา
ภาษา คือ เครื่องสื่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
1. ประโยชน์ของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
- ช่วยธำ รงสังคม เช่น คำ ทักทายปราศรัยแสดงไมตรีต่อกัน หรือใช้เป็นกฎระเบียบของสังคม
- ช่วยแสดงปัจเจกบุคคล คือ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น นํ้าเสียง ลายมือ รสนิยม
อารมณ์
- ช่วยพัฒนามนุษย์ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ให้แก่กันได้
- ช่วยกำ หนดอนาคต เช่น คำ สั่ง การวางแผน สัญญา คำ พิพากษา คำ พยากรณ์ การนัดหมาย
- ช่วยให้จรรโลงใจ เช่น คำ ขวัญ คำ คม คำ ผวน สำ นวน ภาษิต เพลง เป็นต้น
2. อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ มนุษย์ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียว แต่ยังถือว่าภาษาบางคำ
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลด้วย เช่น การตั้งชื่อคน มักจะมีความหมายในทางดี ชื่อต้นไม้ที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้
ด้วย เช่น ขนุน มะยม ยอ ระกำ ลั่นทม มะไฟ เป็นต้น
สารชีวโมเลกุล

สารอาหาร (Nutrient)
หมายถึงสารที่มีอยู่ในอาหารซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ

สารชีวโมเลกุล (Biomolecule)
หมายถึงสารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิต จำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิพิด และกรดนิวคลีอิก

1. โปรตีน

โปรตีนเป็นสารที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยมูลเดอร์ ซึ่งต่อมาแบร์ซีเลียส เป็นผู้ตั้งชื่อว่าโปรตีน (Protein) ในภายหลัง

โปรตีน มาจากคำในภาษากรีก แปลว่า มีความสำคัญก่อน โดยทั่วไปในเซลล์ของพืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง

สมเด็จพระนเรศวร

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ พระสุพรรณกัลยา ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรสส, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา
ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐ
พระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทิดทูนไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
เนื้อหา
[ซ่อน]
1 พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์และการศึกษาในหงสาวดี
2 พระยศสมเด็จพระมหาอุปราช
3 การประกาศอิสรภาพ
4 ยุทธหัตถี
5 สวรรคต
6 พระราชกรณียกิจ
7 พระราชปณิธาน
8 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในวัฒนธรรมร่วมสมัย
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น

พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์และการศึกษาในหงสาวดี
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙ พรรษา
นอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม กับพระมหาเถรคันฉ่องทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย
พระยศสมเด็จพระมหาอุปราช
หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของ
การประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2550 รับบทโดย พ.ต.วันชนะ สวัสดี)
ปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน
กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า

ข้าแต่เทพยดาฟ้าดินทั้งหลาย อันมีมหิทธิฤทธิและทิพจักขุ ทิพโสต ซึ่งสถิตอยู่ทุกทิศานุทิศ จงเป็นทิพยาน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีมิได้ตั้งอยู่โดยครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำภยันอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงพระมหานครศรีอยุธยากับเมืองหงสาวดี มิได้เป็นสุวรรณปฐพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อน ขาดจากกันแต่วันนี้ไป ตราบเท่ากัลปาวสาน

จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6
ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง
ฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ สมเด็จพระนเรศวรก็ให้ทหารเอาปืนหามแล่น คาบศิลา นกสับระดมยิงไป ก็ยิงไม่ถึง สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ (2 เมตรกว่า) ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นเป็นอัศจรรย์ด้วยแม้น้ำสะโตงนั้นกว้างใหญ่เกินกำลังปืนจะยิงถึง และแม่ทัพฝ่ายตนถึงแก่ความตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี
พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ในคราวเสียกรุงศรีอยุธาครั้งที่ 2 พระแสงปืนได้สูญหายไป เมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์จึงทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระแสงปืนจำลองขึ้น แต่ที่แปลกคือสร้างเป็นปืนคาบศิลา
สมเด็จพระนเรศวรพาพรรคพวกยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา อาจต้องปะทะกับกองทัพของพระเจ้านันทบุเรง และมีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงนำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ มุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา
เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา
ยุทธหัตถี
ภาพแกะสลักนูนต่ำจำลองเหตุการณ์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร ณ ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
นับแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ
การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง วันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนี้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี เป็นวันรัฐพิธี
สวรรคตพ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ นาย และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหารล้านนาที่เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่) หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน ๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวละลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี..วันสวรรคตนี้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้วันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นวันรัฐพิธี
พระราชกรณียกิจ
พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนาเข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือ เมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวละลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี[1]
ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู
มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น
มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดพิษณุโลก ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร" ด้วยเช่นกัน
ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้
ในประเทศไทยได้มีการนำพระราชประวัติมาสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ครั้งแรก ใช้ชื่อว่า นเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2500 ครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า มหาราชดำ ในปี พ.ศ. 2522 และครั้งที่ 3 ใช้ชื่อว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2550
เคยมีการสร้างละครเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำในปีนั้นถึง 5 รางวัล[3] ภายหลังมีการนำละครเรื่องนี้มาฉายใหม่ทางช่อง สทท.11 อีกครั้ง (ประมาณ พ.ศ. 2540)
ไม้ เมืองเดิม ได้นำเหตุการณ์ในสมัยนี้ไปใช้เป็นฉากในนวนิยายเรื่อง ขุนศึก ซึ่งตัวเอกของเรื่องคือ เสมา ทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นช่างตีเหล็ก นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เช่นกัน
มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น มหากาพย์กู้แผ่นดิน ผลงานของมนตรี คุ้มเรือน เป็นต้น
ได้มีการสร้างตำนานสมเด็จพระนเรศวรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า กษัตริยา ควบคู่กับ มหาราชกู้แผ่นดิน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ใน พ.ศ. 2542 โดยบริษัท กันตนา

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การไทเทรต

การไทเทรตกรด – เบส

การไทเทรต กรด - เบส (Acid-Base Titration)
เป็นกระบวนการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดหรือเบส โดยให้สารละลายกรดหรือเ บสทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายมาตรฐาน เบสหรือกรดซึ่งทราบความเข้มข้นที่แน่นอน และใช้อินดิเคเตอร์เป็นสารที่บอกจุดยุติ ด้วยการสังเ กตจากสีที่เปลี่ยน ขณะไทเทรต pH จะเปลี่ยนไป ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์เหมาะสม จะบอกจุดยุติใกล้เคียงกับจุดสมมูล
จุดสมมูล ( จุดสะเทิน = Equivalence point)
คือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน จุดสมมูลจะมี pH เป็นอย่างไร<> นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่นำมาไทเทรตกัน และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดและเบส
จุดยุติ (End point)
คือจุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี ขณะไทเทรตกรด- เบสอยู่ จุดยุติจะใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้นั้น จะ ต้องเลือกอินดิเคเตอร์เหมาะสม ในทางปฏิบัติถือว่าจุดยุติ เป็นจุดเดียวกับจุดสมมูล
จุดยุติ (End point)
การที่จะทราบว่า ปฏิกิริยาการไทเทรตถึงจุดสมมูลหรือยังนั้น จะต้องมีวิธีการที่จะหาจุดสมมูล วิธีการหนึ่งคือ การใช้อินดิเคเตอร์ โดยอินดิเคเตอร์จะต้องเปลี่ยนสีที่จุดที่พอดีหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูล นั่นคือ จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี จะเรียกว่า จุดยุติ
การหาความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก โดยการไทเทรตชัน
a) ตวงปริมาตรของสารละลายกรดด้วยปิเปดต์ใส่ขวดชมพู่b) ไทเทรตสารละลายมาตรฐานจากบิวเรตต์ลงในขวดชมพู่ที่มีสารละลายกรดไฮโดรคลอริกอยู่ด้วยc) การไทเทรตกรด- เบสจนถึงจุดยุติโดยสังเกตจากอินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีd) อ่านปริมาตรของสารละลายเบส ( สารละลายมาตรฐาน) ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายกรดนี้ บันทึกข้อมูล
วิธีการไทเทรตกรด - เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด
ตัวอย่างเช่น การหาค่าสารละลายกรด HCl ว่ามีความเข้มข้นเท่าใดเราอาจใช้สารละลายมาตรฐาน NaOH เข้มข้น 0.100 โมล/ ลิตร มาทำการไทเทรตกับสารละลาย HCl ตัวอย่าง จำนวนหนึ่ง ( อาจจะเป็น 50 cm 3 ) เมื่อทราบปริมาตรของ NaOH ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกับ HCl จำนวน 50 cm 3 นี้โดยอินดิเคเตอร์เป็นตัวบอกจุดยุติ แล้วเราก็สามารถคำนวณหาความเข้มข้นของกรด HCl ได้
รูปที่ 1 การไทเทรตกรด- เบส
สารละลายมาตรฐาน ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน บรรจุอยู่ในเครื่องแก้วที่เรียกว่า บิวเรตต์ ซึ่งจะมีก๊อกไขปิด- เปิดเพื่อหยดสารละลายมาตรฐานมายังขวดรูปกรวยที่บรรจุสารละลายตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ ในการไทเทรต ค่อยๆ หยดสารละลายมาตรฐานลงมาทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่างในขวดรูปกรวย เขย่าหรือหมุนขวดรูปกรวยเพื่อให้สารผสมกันพอดี ไทเรตจนกระทั่งอินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีก็หยุดไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรสารละลายมาตรฐานที่ใช้ เพื่อนำไปคำนวณหา pH สารละลายต่อไป
เครื่องแก้วเชิงปริมาตร ที่ใช้ในการถ่ายเทของเหลวตัวอย่าง ลงในขวดรูปกรวยจะใช้เครื่องแก้วที่สามารถ อ่านปริมาตรได้ค่าที่ละเอียด และมีค่าถูกต้องมากที่สุด นั่นคือจะใช้ ปิเปตต์ ( จะไม่ใช้กระบอกตวงเพราะให้ค่าที่ไม่ละเอียด และความถูกต้องน้อย) ซึ่งมีขนาดต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น ขนาด 1 cm 3 , 5, 10, 25, 50 cm 3 เป็นต้น วิธีใช้ปิเปตต์จะใช้ลูกยางช่วยในการดูดสารละลาย โดยในตอนแรก บีบอากาศออกจากลูกยาง ที่อยู่ปลายบนของปิเปตต์ แล้วจุ่มปลายปิเปตต์ ลงในสารละลายที่ต้องการปิเปตต์ แล้วค่อยๆ ปล่อยลูกยาง สารละลายจะถูกดูดขึ้นมาในปิเปตต์ เมื่อสารละลายอยู่เหนือขีดบอกปริมาตร ดึงลูกยางออก รีบใช้นิ้วชี้กดที่ปลายปิเปตต์ค่อยๆ ปล่อยสารละลายออกจนถึงขีดบอกปริมาตรบน จากนั้นก็ปล่อยสารละลาย ออกจากปิเปตต์สู่ขวดรูปกรวยจนหมด
ปฏิกิริยาในการไทเทรตกรด - เบส
ปฏิกิริยา ที่เกี่ยวข้อง ในการไทเทรตกรด- เบสต่างๆ ได้แก่
1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
2. ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
3. ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อนไม่นิยมนำมาใช้ในการไทเทรตกรด- เบส เพราะที่จุดสมมูล หรือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ชัดเจน
ปฏิกิริยาระหว่างกรด- เบส เขียนแทนด้วยสมการ
H + (aq) + OH - (aq) H­ 2O (l)

การคำนวณเกี่ยวกับการไทเทรตกรด - เบส
การคำนวณเกี่ยวกับการไทเทรต จะเกี่ยวข้องกับการคำนวณต่อไปนี้
1. การคำนวณความเข้มข้นของกรดหรือเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี
ปริมาณของกรดหรือเบสจะคำนวณได้จากปริมาณสัมพันธ์ในสมการของปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบส m กรด + n เบส p เกลือ + q น้ำ
M a , M b คือ ความเข้มข้นเป็น โมล/ ลิตร ของกรดและเบส ตามลำดับ
V a , V b คือ ปริมาตรเป็น ลิตร ของสารละลายกรดและเบส ตามลำดับ
m , n คือ จำนวนโมลของกรดและเบส ตามลำดับ
2. การคำนวณเกี่ยวกับ pH ของสารละลายและการสร้างกราฟของการไทเทรต
กราฟของการไทเทรต
เป็นกราฟที่ได้จากการเขียนระหว่าง pH ของสารละลายที่เปลี่ยนไปขณะไทเทรต กับปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน จะได้กราฟที่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับความแรงของกรด และเบสที่เกี่ยวข้องในการทำไทเทรต ความเข้มข้นของกรดและเบส สภาวะที่เกิดเป็นบัฟเฟอร์ และการเกิดไฮโดรไลซีสของเกลือ จุดประสงค์ของการเขียนกราฟของการไทเทรต เพื่อศึกษาดูว่า การไทเทรตระหว่างกรด- เบสคู่นั้นจะทำได้หรือไม่ และยังใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกใช้อินดิเคเตอร์อีกด้วย ซึ่งกราฟของการไทเทรตนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ
1. ก่อนถึงจุดสมมูล
2. ที่จุดสมมูล จำนวนโมลของกรดจะทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
3. หลังจุดสมมูล
1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
การไทเทรตกรดแก่ด้วยเบสแก่นั้น ทั้งกรดแก่และเบสแก่ต่างก็แตกตัวได้หมด ตัวอย่างเช่น การไทเทรตสารละลายกรดเกลือ (HCl) ด้วยสารละลายมาตรฐานเบส NaOH ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ
HCl(aq) + NaOH(aq) ฎ H 2O (l) + NaCl (aq)
การไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่ สารละลายผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นเกลือที่ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ดังนั้น การหาค่า pH ก็คำนวณจากปริมาณ H 3O + หรือ OH - ที่มีอยู่ในสารละลายนั้นโดยตรงและมี pH ของสารละลายเท่ากับ 7
. การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
การไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น กรดแอซิติก (CH 3COOH) กับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เมื่อถึงจุดสมมูล สารละลายที่ได้จะมีโซเดียมแอซิเตต ซึ่งเกิดไฮโดรไลซีสได้ และสารละลายจะมี pH > 7
3. การคำนวณ pH ของสารละลายจากปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
การไทเทรตกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น กรด HCl กับ NH 3 จะได้เกลือ NH 4Cl ซึ่งเกิดไฮโดรไลซีสได้สารละลายที่เป็นกรดมี pH < 7 ที่จุดสมมูล

การไทเทรตกรดพอลิโปรติก
กรดโพลิโปรติกสามารถให้โปรตอน (H +) กับเบสได้มากกว่า 1 โปรตอน ตัวอย่างเช่น กรดซัลฟิวริก (H 2SO 4) เป็นกรดไดรโปรติก ให้โปรตอนได้ 2 ตัว กรดฟอสฟอริก (H 3PO 4) เป็นกรดไตรโปรติก ใหโปรตอนได้ 3 ตัว สมการแสดงภาวะสมดุลของกรดพอลิโปรติก สามารถเขียนได้ดังนี้
H 2M + H 2O H 3O + + HM -
HM - + H 2O H 3O + + M 2-
H 2M เป็นกรดไดโปรติก มีค่าคงที่การแตกตัว K 1 และ K 2 ในการไทเทรตกรไดโปรติกนี้กับเบสกรดจะทำปฏิกิริยากับเบสเป็น 2 ขั้นด้วยกัน และมีจุดสมมูลเกิดขึ้น 2 จุดด้วยกัน
จุดสมมูลที่หนึ่ง โปรตอนตัวแรกทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
จุดสมมูลที่สอง โปรตอนตัวที่สองทำปฏิกิริยาพอดีกับเบส
ความเข้มข้นของ H + ในสารละลาย หรือ pH ของสารละลายจะขึ้นอยู่กับค่า K 1 และ K 2 ในการไทเทรตกรดพอลิโปรติกนี้ ถ้า < 10 3 จะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะที่จุดสมมูลที่หนึ่ง
อินดิเคเตอร์กับการไทเทรตกรด - เบส
อินดิเคเตอร์กรด- เบส ที่เหมาะสมกับปฏิกิริยาการไทเทรตจะต้องมีค่า pH ที่จุดกึ่งกลางช่วงการเปลี่ยนสีใกล้เคียงหรือเท่ากับ pH ที่จุดสมมูลของปฏิกิริยา นอกจากนี้ การเลือกใช้อินดิเคเตอร์กรด- เบส ต้องพิจารณาสีที่ปรากฎ จะต้องมีความเข้มมากพอที่จะมองเห็นได้ง่าย หรือเห็นการเปลี่ยนสีได้ชัดเจน ช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ จะเกิดขึ้นในช่วง 2 หน่วย pH

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ได้แก่ การหาปริมาณกรดอ่อนในน้ำส้ม น้ำมะนาว และในไวน์ การหาปริมาณเบส Mg(OH) 2 , MgO ในยาลดกรด หรือการหาปริมาณโปรตีนในอาหาร
การหาปริมาณกรดอ่อนในน้ำสม ทำได้โดยการปิเปตต์น้ำส้มเจือจางด้วยน้ำกลั่นประมาณ 5 เท่า แล้วไทเทรตกับสารละลายมาตรฐาน NaOH เข้มข้น 0.1000 M โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ ไทเทรตจนสารละลายเปลี่ยนจากไม่มีสีเป็นสีชมพู แล้วคำนวณหาร้อยละของกรดแอซิติก (CH 3COOH) โดยมวลต่อปริมาตร
การหาปริมาตรกรดอ่อนในมะนาวและในไวน์ ก็ทำได้โดยวิธีเดียวกับการหาปริมาณกรดแอซิติกในน้ำส้ม การรายงานผล จะรายงานเป็นร้อยละของกรดแอซิติก ( ในน้ำมะนาว) และกรดทาร์ทาริก ( ในไวน์)
การหาปริมาณ Mg(OH) 2 ก็ทำได้โดยการไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโดยตรง เช่น ไทเทรตกับกรด HCl สำหรับการหาปริมาณ MgO จะต้องเปลี่ยนให้เป็น Mg(OH) 2 โดยการใช้เบส แล้วค่อยไทเทรตกับสารละลายกรดมาตรฐาน
การหาปริมาณโปรตีนในอาหาร ต้องใช้วิธีทางอ้อมในการวิเคราะห์ โดยการหาปริมาณไนโตรเจนที่อยู่ในเอมีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนในโปรตีน การหาปริมาณไนโตรเจนนี้ทำได้โดยการเปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปของ NH 3 แล้วไทเทรตกับสารละลายมาตรฐาน

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

จักรวาลและการเกิดฝนดาวตก

จักรวาล

เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย สำหรับมนุษย์ที่จะรู้ขนาดของจักรวาล เราไม่เพียงไม่รู้ว่าจักรวาลใหญ่แค่ไหนหากยังลำบากในการ จินตนาการว่ามันจะใหญ่แค่ไหนอีกด้วย หากเราเริ่มจากโลกของเรา และค่อยๆเคลื่อนออกไป โลกของเราเป็นส่วนเล็กๆของ ระบบสุริยจักรวาลซึ่งประกอบ ไปด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่ โคจรรอบๆดวงอาทิตย์ และดาวดวงเล็กอื่นๆ และระบบสุริยจักรวาลก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรา เรียกว่า กาแล็กซี่ ซึ่งประกอบไปด้วยดาวหลายล้านดวง และในบรรดาดาวเหล่านี้ มีดาวไม่น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า วงอาทิตย์ของเรา มากนัก และอาจมีระบบสุริยะของมันเอง
ดังนั้นดาวทุกดวงที่เรามองเห็นในกาแล็กซี่ของเราซึ่งเรียกว่า ทางช้างเผือกนั้นล้วน เป็นดวงอาทิตย์ ดาวเหล่านี้ อยู่ห่างจากเรามากจนต้องใช้ หน่วยวัดเป็นปีแสงแทนที่จะเป็นไมล์ ใน 1 ปีแสงเดินทางได้ประมาณ 6,000,000,000,000 ไมล์ ดาวที่ส่องแสงสว่าง ที่อยู่ใกล้โลกเรา มากที่สุดคือ Alpha Centauri ซึ่งห่างจากโลกเราประมาณ 25,000,000,000,000 ไมล์ อย่าลืมว่าตอนนี้เรากำลังพูดถึง กาแล็กซี่ของเราเท่านั้นที่ประมาณว่า มีความกว้าง ประมาณ100,000 ปีแสง หรือ 100,000 x 6,000,000,000,000 ไมล์! และกาแล็กซี่ของเราเป็นเพียง ส่วนประกอบเล็กๆของระบบที่ใหญ่กว่าอาจจะมี หลายล้านกาแล็กซี่นอกจากทางช้างเผือก ของเรา และกาแล็กซี่เหล่านี้อาจจะเป็น ส่วนประกอบ เล็กๆของระบบที่ใหญ่ ขึ้นไปกว่า จะเห็นได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะรู้ขนาดของจักรวาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จักรวาลนั้นกำลังขยายขนาด ขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า ทุกๆ 2 พันล้านปี กาแล็กซี่ 2 กาแล็กซี่จะมีระยะทางห่างกัน2 เท่า

ฝนดาวตก (Meteor Shower) ฝนดาวตก คืออะไร ? ฝนดาวตกก็คือ ดาวตกที่มีปริมาณการตกมากกว่าหรือถี่กว่าดาวตกปกติ มีทิศทางมาจากจุดกำเนิด (Radiant) และช่วงเวลาที่แน่นอน เมื่อมีจำนวนมากๆ จะมีลักษณะคล้ายกับฝนตก จึงเรียกกันว่า ฝนดาวตกภาพวาด (แกะไม้) จากการเล่าขานของฝนดาวตกลีโอมิดอันยิ่งใหญ่ เมื่อปี คศ.1833เกิดขึ้นได้อย่างไร ?โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอก หรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในบางช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า รู้จักกันในชื่อฝนดาวตก (meteor shower) ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อ โลกเดินทางฝ่าเข้าไปในอาณาบริเวณของธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบ และความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ชัดเจน ว่าพุ่งออกมาจากบริเวณใด บนท้องฟ้า บริเวณนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant)ภาพตัวอย่างของฝนดาวตกฝนดาวตกเกิดขึ้นจากการที่วงโคจรของโลก ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแนวเส้นทางที่ดาวหางเคยผ่านมาก่อน ซึ่งจะทิ้งเศษซากก้อนหินและฝุ่นไว้มากมายในอวกาศ แล้วโลกก็ดูดฝุ่นผงเหล่านั้นตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลกอีก ซึ่งจะทำให้เกิดดาวตกมากเป็นพิเศษดังนั้นฝนดาวตกแต่ละแบบ จะมีแหล่งกำเนิดมาจากดาวหางที่ต่างดวงกันจึงประกอบด้วยสสารที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่นฝนดาวตกเปอร์เซอิดที่เกิดจากฝุ่นของดาวหาง Swift-Tuttle นั้นส่วนใหญ่จะเห็นเป็น Fire Ball มากกว่าฝนดาวตกประเภทอื่นๆดาวตกที่สว่างโดดเด่นเป็นเวลานานๆ เราจะเรียกว่า Fire Ballนอกจากนี้ช่วงเวลาการเกิดฝนดาวตกเอง ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดลักษณะของฝนดาวตกด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วดาวตกที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นจะมีความเร็วราว 71 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นฝนดาวตกที่มีช่วงเวลาเกิดก่อนเที่ยงคืน หรือช่วงหัวค่ำจะเป็นช่วงที่ ดาวตกนั้นวิ่งตามการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วไม่มากนัก แต่ถ้าฝนดาวตกเกิดหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทิศกับการหมุนของโลก ความเร็วสัมผัสที่เกิดขึ้นจะเร็วมาก เราจึงเห็นดาวตกช่วงใกล้รุ่งนั้นวิ่งเร็วมากๆ


ฝนดาวตกเจมินิค (Geminids Meteors Shower)แผนที่ดาวคนคู่หรือฝนดาวตกคนคู่ เกิดขึ้นช่วงประมาณ วันที่ 14 ธันวาคม ทุกๆ ปี มีประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง จุด Radiant ใกล้กับดาว Castor ในกลุ่มดาวคนคู่ (GEMINI) เข้าใจว่า ฝนดาวตกเจมินิค เกิดจากแกนกลางของดาวหางที่สลายตัวหมดแล้ว กลายเป็นดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon ในปัจจุบันสิ่งที่น่าสนใจในฝนดาวตกเจมินิดคือจะมีโอกาสให้เราให้ดาวตกสว่างมากๆ ที่เรียกว่า Fire ball การสังเกตฝนดาวตกนี้ กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อย และจะเริ่มเห็นฝนดาวตกตั้งแต่เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป และเป็นฝนดาวตกอันหนึ่งที่น่าสนใจมากด้วย