วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือ
1.1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
1.2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)
2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการ เมแทบอลิซึม(metabolism) เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต แบ่งย่อยได้ 2 กระบวนการ คือ
2.1. แคแทบอลิซึม (catabolism)
2.2. แอแนบอลิซึม (anabolism) 3. การเจริญเติบโต อายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากันบางชนิดใหญ่มาก เช่น ช้าง สูงถึง 7 เมตร ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ สิ่งมีชีวิตเมื่อเติบโตได้ในระยะหนึ่งก็จะตาย เราจะเรียกว่า อายุขัย โดยแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ดูตาราง
การเจริญเติบโตประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)
2. การเจริญเติบโต (growth)
3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ (cell differentiation)
4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
4. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
เป็นการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่ตอยสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีที่เกิดขึ้น สิ่งเร้า (stimulus) อย่างเดียวกันอาจจะตอบสนอง (respon) ไม่เหมือนกันก็ได้ ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น แสงเป็นสิ่งเร้าที่พืชเอนเข้าหา ส่วนโพโทซัวหลายชนิดจะเคลี่อนหนี ตัวอย่างการตอบสนอง เช่น พืชตระกูลถั่วจะหุบใบในตอนเย็นหรือกลางคืน ซึ่งเรียกว่าต้นไม้นอน เป็นต้น

5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ระดับน้ำในเซลล์และร่างกาย ความเป็นกรด-เบส อุณหภูมิ แร่ธาตุ ระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการรักษาระดับของปัจจัยเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเซลล์และร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์แสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดปิดของปากใบ การคายน้ำและการลำเลียงสารของพืช ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารขี้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบของพืช
6. ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ เช่น คนมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าคน แมว สนุข หรือแม้แต่ต้นพืชหรือ สาหร่ายขนาดเล็กก็มีลักษณะเฉพาะเช่นกัน
7. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบโครงสร้างและการดำรงชีวิต เช่น
1. โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
(1) โครงสร้างทางเคมี (chemical structure)
(2) โครงสร้างระดับเซลล์ (cellular structure)
2. การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
(1) การได้มาซึ่งอาหาร (nutrition)
(2) การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)
(3) การสังเคราะห์ (synthesis)
(4) การสืบพันธุ์ (reproduction)
(5) การปรับตัวและวิวัฒนาการ (adaptation and evolution)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น