วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

จักรวาลและการเกิดฝนดาวตก

จักรวาล

เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย สำหรับมนุษย์ที่จะรู้ขนาดของจักรวาล เราไม่เพียงไม่รู้ว่าจักรวาลใหญ่แค่ไหนหากยังลำบากในการ จินตนาการว่ามันจะใหญ่แค่ไหนอีกด้วย หากเราเริ่มจากโลกของเรา และค่อยๆเคลื่อนออกไป โลกของเราเป็นส่วนเล็กๆของ ระบบสุริยจักรวาลซึ่งประกอบ ไปด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่ โคจรรอบๆดวงอาทิตย์ และดาวดวงเล็กอื่นๆ และระบบสุริยจักรวาลก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรา เรียกว่า กาแล็กซี่ ซึ่งประกอบไปด้วยดาวหลายล้านดวง และในบรรดาดาวเหล่านี้ มีดาวไม่น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า วงอาทิตย์ของเรา มากนัก และอาจมีระบบสุริยะของมันเอง
ดังนั้นดาวทุกดวงที่เรามองเห็นในกาแล็กซี่ของเราซึ่งเรียกว่า ทางช้างเผือกนั้นล้วน เป็นดวงอาทิตย์ ดาวเหล่านี้ อยู่ห่างจากเรามากจนต้องใช้ หน่วยวัดเป็นปีแสงแทนที่จะเป็นไมล์ ใน 1 ปีแสงเดินทางได้ประมาณ 6,000,000,000,000 ไมล์ ดาวที่ส่องแสงสว่าง ที่อยู่ใกล้โลกเรา มากที่สุดคือ Alpha Centauri ซึ่งห่างจากโลกเราประมาณ 25,000,000,000,000 ไมล์ อย่าลืมว่าตอนนี้เรากำลังพูดถึง กาแล็กซี่ของเราเท่านั้นที่ประมาณว่า มีความกว้าง ประมาณ100,000 ปีแสง หรือ 100,000 x 6,000,000,000,000 ไมล์! และกาแล็กซี่ของเราเป็นเพียง ส่วนประกอบเล็กๆของระบบที่ใหญ่กว่าอาจจะมี หลายล้านกาแล็กซี่นอกจากทางช้างเผือก ของเรา และกาแล็กซี่เหล่านี้อาจจะเป็น ส่วนประกอบ เล็กๆของระบบที่ใหญ่ ขึ้นไปกว่า จะเห็นได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะรู้ขนาดของจักรวาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จักรวาลนั้นกำลังขยายขนาด ขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า ทุกๆ 2 พันล้านปี กาแล็กซี่ 2 กาแล็กซี่จะมีระยะทางห่างกัน2 เท่า

ฝนดาวตก (Meteor Shower) ฝนดาวตก คืออะไร ? ฝนดาวตกก็คือ ดาวตกที่มีปริมาณการตกมากกว่าหรือถี่กว่าดาวตกปกติ มีทิศทางมาจากจุดกำเนิด (Radiant) และช่วงเวลาที่แน่นอน เมื่อมีจำนวนมากๆ จะมีลักษณะคล้ายกับฝนตก จึงเรียกกันว่า ฝนดาวตกภาพวาด (แกะไม้) จากการเล่าขานของฝนดาวตกลีโอมิดอันยิ่งใหญ่ เมื่อปี คศ.1833เกิดขึ้นได้อย่างไร ?โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอก หรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในบางช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า รู้จักกันในชื่อฝนดาวตก (meteor shower) ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อ โลกเดินทางฝ่าเข้าไปในอาณาบริเวณของธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบ และความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ชัดเจน ว่าพุ่งออกมาจากบริเวณใด บนท้องฟ้า บริเวณนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant)ภาพตัวอย่างของฝนดาวตกฝนดาวตกเกิดขึ้นจากการที่วงโคจรของโลก ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแนวเส้นทางที่ดาวหางเคยผ่านมาก่อน ซึ่งจะทิ้งเศษซากก้อนหินและฝุ่นไว้มากมายในอวกาศ แล้วโลกก็ดูดฝุ่นผงเหล่านั้นตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลกอีก ซึ่งจะทำให้เกิดดาวตกมากเป็นพิเศษดังนั้นฝนดาวตกแต่ละแบบ จะมีแหล่งกำเนิดมาจากดาวหางที่ต่างดวงกันจึงประกอบด้วยสสารที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่นฝนดาวตกเปอร์เซอิดที่เกิดจากฝุ่นของดาวหาง Swift-Tuttle นั้นส่วนใหญ่จะเห็นเป็น Fire Ball มากกว่าฝนดาวตกประเภทอื่นๆดาวตกที่สว่างโดดเด่นเป็นเวลานานๆ เราจะเรียกว่า Fire Ballนอกจากนี้ช่วงเวลาการเกิดฝนดาวตกเอง ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดลักษณะของฝนดาวตกด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วดาวตกที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นจะมีความเร็วราว 71 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้นฝนดาวตกที่มีช่วงเวลาเกิดก่อนเที่ยงคืน หรือช่วงหัวค่ำจะเป็นช่วงที่ ดาวตกนั้นวิ่งตามการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วไม่มากนัก แต่ถ้าฝนดาวตกเกิดหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทิศกับการหมุนของโลก ความเร็วสัมผัสที่เกิดขึ้นจะเร็วมาก เราจึงเห็นดาวตกช่วงใกล้รุ่งนั้นวิ่งเร็วมากๆ


ฝนดาวตกเจมินิค (Geminids Meteors Shower)แผนที่ดาวคนคู่หรือฝนดาวตกคนคู่ เกิดขึ้นช่วงประมาณ วันที่ 14 ธันวาคม ทุกๆ ปี มีประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง จุด Radiant ใกล้กับดาว Castor ในกลุ่มดาวคนคู่ (GEMINI) เข้าใจว่า ฝนดาวตกเจมินิค เกิดจากแกนกลางของดาวหางที่สลายตัวหมดแล้ว กลายเป็นดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon ในปัจจุบันสิ่งที่น่าสนใจในฝนดาวตกเจมินิดคือจะมีโอกาสให้เราให้ดาวตกสว่างมากๆ ที่เรียกว่า Fire ball การสังเกตฝนดาวตกนี้ กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือเล็กน้อย และจะเริ่มเห็นฝนดาวตกตั้งแต่เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป และเป็นฝนดาวตกอันหนึ่งที่น่าสนใจมากด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น