วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ธรรมชาติภาษา

ธรรมชาติของภาษา
ภาษาคือเครื่องมือสื่อความเข้าใจ ภาษาตามความหมายอย่างกว้างคือการสื่อความหมายโดยมีระบบกฎเกณฑ์
ที่เข้าใจกัน 2 ฝ่ายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์ก็ได้จะใช้เสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์อื่นใดก็ได้ ฉะนั้นจึงมีภาษาคน
ภาษาสัตว์ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใบ้ เป็นต้น ส่วนภาษาตามความหมายอย่างแคบนั้นคือถ้อยคำ ที่มนุษย์ใช้พูดสื่อ
ความหมายกันบางภาษามีตัวอักษรถ่ายทอดเสียงจึงเรียกว่าภาษาเขียน
ภาษาของมนุษย์ทั่วไปมีลักษณะร่วมกันที่สำ คัญมี 4 ประการ ดังนี้
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย บางภาษามีตัวอักษรเป็นเครื่องถ่ายเสียง ภาษาคือเครื่องมือที่สื่อความเข้าใจ มีดังนี้
- เสียงสัมพันธ์กับความหมาย คำ ไทยบางคำ อาศัยเลียนเสียงธรรมชาติและเสียงสัตว์ เช่น โครม เพล้ง ปัง
กริ๊ง หวูด ออด ตุ๊กๆ กา แมว จิ้งจก อึ่งอ่าง ตุ๊กแก
- เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย คือ การตกลงกันของกลุ่มแต่ละกลุ่มว่าจะใช้คำ ใดตรงกับความหมายนั้นๆ
ฉะนั้นแต่ละชาติจึงใช้คำ ไม่เหมือนกัน
ส่วนมากเสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน ถ้าเสียงกับความหมายสัมพันธ์กันทั้งหมดแล้วคนต่างชาติต่างภาษา
ก็จะใช้คำ ตรงกัน
2. ภาษาประกอบกันจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่ เช่น เสียง (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์) คำ ประโยค ข้อความ
เรื่องราว ภาษาแต่ละภาษามีคำ จำ นวนจำ กัดแต่สามารถประกอบกันขึ้นโดยไม่จำ กัดจำ นวน เช่น มีคำ ว่า ใคร ใช้ ให้ ไป หา
สามารถสร้างเป็นประโยคได้หลายประโยคและต่อประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
- การพูดจาในชีวิตประจำ วัน เสียงอาจกลายหรือกร่อนไป เช่น อย่างไร เป็นยังไง อันหนึ่ง เป็นอนึ่ง เป็นต้น
- อิทธิพลของภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ มักมีคำ ที่ไม่กะทัดรัด เช่น คำ ว่า ได้รับ ต่อการ นำ มาซึ่ง พร้อมกับ
สำ หรับ มัน ในความคิด สั่งเข้า ส่งออก ใช้ชีวิต ไม่มีลักษณนาม เช่น เขาได้รับความพอใจ, เลขข้อนี้ง่ายต่อการคิด,
ความเพียรจะนำ มาซึ่งความสำ เร็จ, นักกีฬากลับมาพร้อมกับชัยชนะ, สำ หรับข้าพเจ้าไม่ขอแสดงความเห็น, มันเป็นการ
ง่ายที่จะกล่าวเช่นนั้น, ประเทศไทยสั่งเข้านํ้ามันปีละหลายหมื่นล้านบาท, เขาใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่,
สามผู้ร้ายบุกปล้นธนาคาร
- ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น คนไทยไปเติบโตที่ต่างประเทศกลับมาเมืองไทยพูดภาษาไทย
ไม่ค่อยชัด เป็นต้น
- การเรียนภาษาของเด็ก
4. ภาษาต่างๆ มีลักษณะที่ต่างและเหมือนกัน
ที่ต่างกันคือ การใช้คำ เสียง ลักษณนาม ไวยากรณ์ การเรียงคำ
ที่เหมือนกันคือ
- ใช้เสียงสื่อความหมายกัน
- มีวิธีสร้างศัพท์ใหม่ เช่น เอาคำ เดิมมารวมกันเป็นคำ ประสม เป็นต้น
- มีสำ นวน
- มีชนิดของคำ เช่น คำ นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ เป็นต้น
- มีการขยายประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
- มีประโยคบอกเจตนาคล้ายกัน เช่น แจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ หรือสั่งให้ทำ
- มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ภาษาไทย 127
ลักษณะที่ควรสังเกตบางประการในภาษาไทย
อักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย
1. พยัญชนะ
2. สระ
3. วรรณยุกต์
1. พยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง
หน้าที่ของพยัญชนะ คือ
1. เป็นพยัญชนะต้น มี 21 เสียง ดังนี้
1. ก 12. บ
2. ค ข ฃ ฅ ฆ 13. ป
3. ง 14. พ ผ ภ
4. จ 15. ฟ ฝ
5. ช ฉ ฌ 16. ม
6. ซ ศ ษ ส 17. ร (ฤ)
7. ย ญ 18. ล ฬ
8. ด ฎ (ฑ) 19. ว
9. ต ฏ 20. อ
10. ท ฐ ฑ ฒ ถ ธ 21. ฮ ห
11. น ณ
- พยัญชนะต้นประสม คือ พยัญชนะควบกลํ้า เช่น เกรง กลัว กวาง
- พยัญชนะต้นเดี่ยว คือ พยัญชนะไม่ควบกลํ้า หรือควบไม่แท้ เช่น กอง แผน หมาย จริง สร้าง ทราบ
2. เป็นพยัญชนะท้าย (สะกด) มี 8 เสียง รวม 35 ตัว (สะกดไม่ได้ 9 ตัว ฃ ฅ ฉ ฌ ผ ฝ อ ห ฮ)
1. เสียงแม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. เสียงแม่กง ได้แก่ ง
3. เสียงแม่กด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ถ ต ท ธ ศ ษ ส
4. เสียงแม่กบ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ
5. เสียงแม่กน ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. เสียงแม่กม ได้แก่ ม
7. เสียงแม่เกย ได้แก่ ย
8. เสียงแม่เกอว ได้แก่ ว
- พยัญชนะบางตัวไมอ่ อกเสียง เชน่ องค์ สังข ์ สามารถ ปรารถนา พรหม พุทธ สมุทร จริง สร้าง ทราย อยู ่ หวาน
- บางคำ มีเสียงพยัญชนะแต่ไม่มีรูป ได้แก่ คำ ที่ประสมด้วยสระอำ (อะม) ใอ ไอ (อะย) เอา (อะว) เช่น จำ ใจไกลเขา
สระในบางคำ รูปไม่เหมือนกัน
- คำ ที่มาจากสระอะ เช่น รัก (ระก) จำ (จะม) สรรค์ (สะน) ไป (ปะย) ใน (นะย) เรา (ระว)
- คำ ที่มาจากสระเออ เช่น เทอม เดิน เลย
- คำ ที่มาจากสระอัว เช่น บัว ชวน
- คำ ที่มาจากสระออ เช่น รอ กร บวร
สระในบางคำ ออกเสียงไม่ตรงรูป
- สระเสียงสั้นแต่ออกเสียงยาว เช่น เก้า เท้า เช้า นํ้า ได้
- สระเสียงยาวแต่ออกเสียงสั้น เช่น ท่าน เงิน สอย น่อง แหม่ม แว่ว เก่ง เล่น
- สระในบางคำ ไม่ออกเสียง เช่น กษัตริย์ เหตุการณ์ ภูมิลำ เนา จักรพรรดิ
ภาษาไทย 129
3. วรรณยุกต์ มี 4 รูป 5 เสียง
การผันวรรณยุกต์ มีหลักสังเกตดังนี้
- อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
- อักษรกลางและสูง รูปกับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน (ใส่วรรณยุกต์เอกก็เป็นเสียงเอก เป็นต้น) เช่น ไก่แจ้ กระต๊าก
- อักษรตํ่ารูปกับเสียงไม่ตรงกัน (ใส่วรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เป็นต้น) เช่น พ่อ แม่ น้อง รู้
- รูปวรรณยุกต์ตรีใช้ได้กับอักษรกลางเท่านั้น
โครงสร้างหรือองค์ประกอบของพยางค์ ได้แก่
1. เสียงพยัญชนะต้น ให้ดูว่าคำ นั้นเป็นพยัญชนะต้นประสม (ควบแท้) หรือพยัญชนะต้นเดี่ยว (ไม่ควบแท้)
2. เสียงสระ ให้ดูว่าคำ นั้นมีสระออกเสียงสั้นหรือออกเสียงยาว (สระบางคำ รูปกับเสียงสั้นยาวไม่ตรงกัน)
3. เสียงวรรณยุกต์ ให้ดูว่าเป็นเสียงอะไร (สามัญ เอก โท ตรี หรือจัตวา)
4. เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ให้ดูว่าคำ นั้นมีตัวสะกดหรือไม่มี
ระดับภาษา
ระดับภาษา คือ การแบ่งการใช้ภาษาออกเป็นระดับต่างๆ ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาสและสถานที่ มี 5 ระดับ
คือ
1. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารในที่ประชุมที่เป็นพิธีการ
2. ระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการ หรือใช้ในการเขียนข้อความให้ปรากฏต่อสาธารณชน
3. ระดับกึ่งทางการ ใช้ภาษาที่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้างเพื่อความใกล้ชิดกัน เช่น การประชุมกลุ่มหรือ
อภิปรายเป็นกลุ่มเล็ก หรือบทความในหนังสือพิมพ์
4. ระดับไม่เป็นทางการ ใช้สนทนาของบุคคลหรือกลุ่มคน 4-5 คน หรือการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน
5. ระดับกันเอง ใช้สื่อสารกันในวงจำ กัด เช่น ในครอบครัว เพื่อนสนิทในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ แปลว่า คำ พูดสำ หรับพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันหมายถึงการใช้คำ พูดกับบุคคลดังต่อไปนี้
1. พระเจ้าแผ่นดิน
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระภิกษุ
4. ข้าราชการ
5. สุภาพชน
130 ภาษาไทย
คำ ราชาศัพท์ที่ตกแต่งขึ้นจากภาษาต่างๆ ดังนี้
- คำ ไทยดั้งเดิม เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ พระยอด ทรงถาม ทรงช้าง
- คำ บาลี เช่น พระอัฐิ พระหัตถ์ พระอุทร
- คำ สันสกฤต เช่น พระเนตร พระจักษุ ทรงพระอักษร
- คำ เขมร เช่น พระขนง ตรัส เสวย โปรด บรรทม
การใช้คำ ว่า "ทรง"
1. นำ หน้าคำ นาม และคำ กริยาสามัญ เช่น ทรงม้า ทรงช้าง ทรงธรรม ทรงกีฬา ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงขอบใจ
2. นำ หน้าคำ นามราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร ทรงพระดำ ริ ทรงพระสุบิน
3. ห้ามนำ หน้าคำ ที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น ตรัส เสด็จ ประทับ พระราชทาน ทอดพระเนตร โปรด ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "เสด็จ"
- ใช้นำ หน้าคำ กริยาบางคำ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง
- นำ หน้าคำ นามให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำ เนิน เสด็จพระราชสมภพ
การใช้คำ ว่า "พระบรม"
ใช้กับสิ่งสำ คัญของพระมหากษัตริย์เท่านั้น เช่น พระบรมเดชานุภาพ พระบรมราชสมภพ พระบรมราชโองการ
พระปรมาภิไธย พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชชนนี ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "อาคันตุกะ" (แขกผู้มาเยือน)
แขกของกษัตริย์ให้ใช้ พระราชอาคันตุกะ ถ้าไม่ใช่แขกของกษัตริย์ให้ใช้ อาคันตุกะ เช่น
- ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
การใช้คำ ว่า "ทูลเกล้า ฯลฯ" ใช้กับของเบาและเล็ก เช่น เงิน ดอกไม้ เสื้อผ้า ฯลฯ
การใช้คำ ว่า "น้อมเกล้า ฯลฯ" ใช้กับของใหญ่หรือหนัก เช่น รถยนต์ อาคาร ที่ดิน ฯลฯ
การที่ประชาชนไปรอต้อนรับพระเจ้าแผ่นดิน ควรใช้ว่า ประชาชนไปรอเฝ้าฯ รับเสด็จ ห้ามใช้ว่า ถวายการต้อนรับ
ประชาชนถวายความจงรักภักดี ก็ผิด ควรใช้ว่า ประชาชนแสดงความจงรักภักดี หรือมีความจงรักภักดี
ภาษาไทย 131
ความสำ คัญของภาษา
ภาษา คือ เครื่องสื่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
1. ประโยชน์ของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
- ช่วยธำ รงสังคม เช่น คำ ทักทายปราศรัยแสดงไมตรีต่อกัน หรือใช้เป็นกฎระเบียบของสังคม
- ช่วยแสดงปัจเจกบุคคล คือ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น นํ้าเสียง ลายมือ รสนิยม
อารมณ์
- ช่วยพัฒนามนุษย์ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ให้แก่กันได้
- ช่วยกำ หนดอนาคต เช่น คำ สั่ง การวางแผน สัญญา คำ พิพากษา คำ พยากรณ์ การนัดหมาย
- ช่วยให้จรรโลงใจ เช่น คำ ขวัญ คำ คม คำ ผวน สำ นวน ภาษิต เพลง เป็นต้น
2. อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ มนุษย์ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียว แต่ยังถือว่าภาษาบางคำ
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลด้วย เช่น การตั้งชื่อคน มักจะมีความหมายในทางดี ชื่อต้นไม้ที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้
ด้วย เช่น ขนุน มะยม ยอ ระกำ ลั่นทม มะไฟ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น